การพัฒนา ของ The World Ends with You

The World Ends with You พัฒนาโดยทีมพัฒนาเดียวกับที่สร้างซีรีส์ คิงดอมฮารตส์ ร่วมกับบริษัท Jupiter ที่พัฒนา Kingdom Hearts: Chain of Memories การพัฒนาเริ่มต้นขึ้นเมื่อ 2 ปีครึ่งก่อนวางจำหน่ายฉบับภาษาญี่ปุ่น ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พัฒนา คิงดอมฮารตส์ II และการพัฒนา Kingdom Hearts: Chain of Memories ได้เสร็จสิ้นแล้ว[23] ขณะนั้นนินเทนโดได้ประชาสัมพันธ์เครื่องดีเอส แต่ยังไม่ได้วางจำหน่าย สแควร์เอนิกซ์ได้มอบหมายให้ทีมพัฒนาสร้างเกมสำหรับเครื่องเล่นขนาดพกพาโดยเฉพาะ[23] ทีมงานสร้างเกมอันประกอบไปด้วย ทัทสึยะ คันโดะ (ผู้กำกับ) โทะโมะฮิโระ ฮะเซะงะวะ (co-director) ทะเคะชิ อะระคะวะ (planning director) และเท็ทสึยะ โนะมุระ (ออกแบบตัวละคร) มีโอกาสได้ลองใช้เครื่องดีเอสภายในงาน "Touch DS" เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2547[24] จากการทดลองใช้ครั้งนั้น ทีมงานได้นึกถึงการนำรูปแบบการเล่นของ Chain of Memories มาประยุกต์เข้ากับเครื่องดีเอส โดยจอล่างจะแสดงผลส่วนของการ์ดเกม และจอบนแสดงส่วนของ action role-playing game เมื่อเริ่มพัฒนาเกม ทีมผู้พัฒนาต้องการให้เกมที่กำลังสร้างนี้ใช้จอสัมผัสมากขึ้น เพื่อสร้าง "เกมที่สามารถเล่นได้บนเครื่องดีเอสเท่านั้น"[24] แต่ก็ต้องพบปัญหาที่ว่า เมื่อมุ่งให้ความสำคัญกับจอสัมผัสมาก จอบนจะถูกมองข้าม จากจุดนี้จึงเกิดความคิดที่จะสร้างระบบการต่อสู้ที่ใช้จอภาพทั้งสองพร้อมๆกัน[24] ทีมผู้พัฒนาได้ทดลองทางเลือกมากมายสำหรับเกมส่วนของจอบน อย่างเช่น การต่อสู้แบบใช้คำสั่ง หรือเกมดนตรี แต่เมื่อลองพิจารณาจากมุมมองของผู้เล่นแล้ว ท้ายที่สุดจึงใช้ระบบการ์ดเกมสำหรับให้ผู้เล่นเลือกควบคุมเกมได้ตามที่ต้องการ[25] แม้เมื่อสร้างเกมฉบับภาษาญี่ปุ่นเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ทีมงานยังคงเกรงว่าระบบสองจอภาพจะยุ่งยากเกินไปสำหรับผู้เล่นในต่างประเทศ และได้เปลี่ยนกลไกการ์ดเกมให้เป็น special meter ที่จะมีค่าคะแนนเพิ่มมากขึ้นจากการโจมตีธรรมดาของเนกุ แต่ส่วนนี้ไม่สามารถทำได้เสร็จสิ้นทันการวางจำหน่าย[25] อย่างไรก็ตาม ทีมงานสามารถแก้ไขส่วนของ Tutorial ขณะเริ่มต้นเล่นเกมในฉบับอเมริกาเหนือที่มีข้อความมากเกินไปได้ ซึ่งช่วยลดปริมาณการแสดงผลข้อความ และทำให้ผู้เล่นสามารถข้าม Tutorial ไปได้ ส่วนของระบบ "Active Encounter" ซึ่งทำให้ผู้เล่นสามารถเลือกได้ว่าจะเข้าสู่ฉากต่อสู้เมื่อไรและอย่างไร ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยเฉพาะเพื่อไม่ให้เกมน่าเบื่อมากเกินไป ซึ่งเป็นปัญหาที่พบในระบบ RPG ส่วนใหญ่[25] และทีมงานยังได้พัฒนากลไกที่ทำให้สามารถ scan ตัวละครที่ไม่สามารถบังคับได้ เพื่ออ่านความคิดตัวละครเหล่านั้น แต่ขณะนั้นยังไม่สามารถนำระบบใส่เข้าไปในเกมได้[25]

บรรยากาศในเกมส่วนใหญ่จำลองมาจากย่านชิบุยะของจริง โดยนำเสนอ scramble crossing ใกล้กับ the 109 department store (ด้านซ้ายในภาพ) เป็นจุดสำคัญ และนำไปใช้เป็นภาพฉากหลังบนปกเกม

ในการทำให้เกมมีความเป็นเอกลักษณ์มากขึ้น ผู้ออกแบบจึงต้องการจำลองสถานที่จริงมาสร้างเป็นบรรยากาศในเกม[24] ในระยะแรกได้วางแผนว่าจะจำลองจากสถานที่หลายแห่งทั่วโลก ต่อมาได้จำกัดการเลือกสถานที่ให้อยู่เฉพาะในเมืองที่ต้องการเพื่อให้สามารถสร้างบรรยากาศได้อย่างสมจริงที่สุด ในที่สุดในปีแรกของขั้นตอนการพัฒนา คนโดะได้ตัดสินใจเลือกชิบุยะเป็นสถานที่หลัก กระนั้นก็ยังมีความกังวลว่าผู้เล่นในต่างประเทศจะไม่คุ้นเคยกับบรรยากาศภายในเกม[25] ทีมงานต้องการให้ยืนยันได้ว่าเกมจะนำเสนอบรรยากาศของชิบุยะได้อย่างสมจริง[24] จึงออกถ่ายภาพเมืองตามดาดฟ้าอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต[26] แล้วจำลองแบบแผนผังชิบุยะสำหรับเกม โดยยังคงสถานที่สำคัญในโลกจริงไว้ แต่ได้เปลี่ยนชื่อร้านค้าและอาคารต่างๆ ด้วยเหตุผลด้านลิขสิทธิ์ ตัวอย่าง 109 Building ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "104 Building" ขณะที่ร้านสตาร์บัคส์ที่อยู่ติดกับ scramble crossing ซึ่งเป็นสาขาที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุดแห่งหนึ่ง ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "Outback Cafe"[4][25][27][28][29] ความสำเร็จของเกมทำให้แฟนเกมออกสำรวจย่านชิบุยะเพื่อชมสถานที่จริงที่ถูกจำลองลงในเกม[25] นอกจากนี้ส่วนอื่นๆในเกมอย่างเช่น อาหาร เสื้อผ้า หรือการใช้โทรศัพท์มือถือ ก็นำ selection ของย่านชิบุยะมาใช้ในเกมเช่นกัน[27] แรกเริ่มนั้นทีมงานมีความคิดที่จะใช้ภาพเขียนตามกำแพงสาธารณะที่มีอยู่ทั่วไปในชิบุยะมาใช้เป็นแหล่งการใช้พลังต่างๆ ในเกมของผู้เล่น แต่เนื่องจากส่วนนี้แสดงผลได้ยาก จึงเปลี่ยนเป็นการสร้าง psych pins ขึ้นแทน

ทีมงานตัดสินใจสร้างเกมด้วยกราฟิกสองมิติแทนที่จะเป็นสามมิติ เนื่องจากเชื่อว่าจะสร้างความแตกต่างของเกมนี้จากเกมอื่นของ สแควร์เอนิกซ์ และยังนำเสนอจินตนาการของเกมได้มากกว่า[25] ในขั้นตอนแรกซึ่งเป็นการสร้างรูปแบบศิลปะสำหรับเกม ทะคะยุกิ โอดะจิ background art director มีความคิดว่าบรรยากาศสมัยใหม่จะทำให้เกมน่าเบื่อเกินไป เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้จึงออกแบบกราฟิกของชิบุยะให้มีลักษณะเอนเอียงและเป็นเหลี่ยมมุม ซึ่ง Creative team คนอื่นก็พบว่าวิธีนี้ทำให้กราฟิกกลมกลืนกับเกมได้เป็นอย่างดี[26] สำหรับฉากต่อสู้นั้น ฉากหลังของจอบนจะออกแบบเพื่อเน้นความน่าสนใจของภาพ ขณะที่ฉากหลังของจอสัมผัสด้านล่างจะออกแบบเพื่อเน้นระบบการเล่น[30] Ohdachi ยังได้ทำหน้าที่ออกแบบอาร์ตเวิร์กสำหรับ psych pins และผสมผสานศิลปะประชานิยมเข้ากับ tribal design สำหรับกราฟิกในหลายๆส่วน[26] ในส่วนของการออกแบบตัวละครเป็นหน้าที่ของเท็ทสึยะ โนะมุระ และ Gen Kobayashi[31] ซึ่งออกแบบขึ้นเพื่อให้เข้ากับบรรยากาศของโตเกียวในโลกจริง ต่อมาจึงออกเสื้อผ้าโดยยึดตามบุคลิกของตัวละคร[32] โคะบะยะชิยังได้ทำหน้าที่ออกแบบตัวละครที่บังคับไม่ได้ และบันทึกการนำภาพร่างออกแบบมาสร้างเป็นตัวละครที่สมบูรณ์[33] ฮะเซะงะวะทำหน้าที่ออกแบบนอยส์ โดยต้องการทำให้มีลักษณะที่เป็นสิ่งมีชีวิตก่อนที่จะเน่าเปื่อยเป็นกระดูก[26] และเพื่อให้แสดงออกถึงอารมณ์ของมนุษย์ จึงเลือกใช้สิ่งมีชีวิตที่สื่อถึงความรู้สึก เช่น หมาป่า หรืออีกา[26] การนำเสนอรูปแบบของนอยส์ภายในเกมจะต้องวาด 2D sprites จากหลายๆมุมเพื่อสร้างการเคลื่อนไหวบนจอภาพ รวมทั้งใช้ rotoscoping บน pre-rendered sprites[26] และ สแควร์เอนิกซ์ ต้องประชุมกับ Jupiter หลายครั้งเพื่อยืนยันว่า sprite สอดคล้องกับรูปแบบของเกม ซึ่งคันโดะต้องเดินทางระหว่างโตเกียวและเกียวโตเป็นเวลา 2 ชั่วโมงทุกสัปดาห์เพื่อตรวจสอบการทำงานในส่วนนี้[25]

นอกจากการสร้างเนื้อเรื่องของเกมให้ผู้เล่นรู้สึกถึงภาวะฉุกเฉินและปริศนา ผู้พัฒนายังต้องการนำผู้เล่นไปสู่สถานการณ์ที่ถูกจำเป็นต้องกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยไม่มีคำอธิบาย[26] เริ่มจากสร้างแผนร่างเบื้องต้นของโครงเรื่อง และส่งต่อให้ซะจิเอะ ฮิระโนะ ผู้เขียนบท และยุคะริ อิชิดะ scenario event planer นำไปขยายความต่อ ผลที่ได้นั้นใกล้เคียงกับ initial vision ของเนื้อเรื่องของเกม[26] แต่ยังมีความยากในการแต่งเติมเนื้อเรื่องให้สมบูรณ์ แม้ว่าการพัฒนาจะเป็นไปอย่างราบรื่นประมาณครึ่งหนึ่งของกระบวนการแล้ว ก็ยังมีความเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลต่อการสร้าง Master image ของเกม[25] ในระหว่างการตรวจสอบคุณภาพครั้งสุดท้ายได้พบจุดที่ไม่สอดคล้องกันในเนื้อเรื่องซึ่งจำเป็นต้องแก้ไข[25] และขณะที่ทีมงาน localization ของ สแควร์เอนิกซ์ แปลบทสนทนาและ Interface items ส่วนใหญ่ให้เป็นภาษาอังกฤษและภาษาอื่นๆในยุโรป ก็ยังต้องคงส่วนประกอบที่เป็นภาษาญี่ปุ่นจำนวนมากไว้ดังเดิมเพื่อไม่ให้เสียวัฒนธรรมของเกม[34] อีกทั้งยังมีข้อจำกัดเรื่องขนาดของกรอบสนทนาที่ใช้ในเกม ซึ่งต้องปรับปรุงแก้ไขหลายขั้นตอนเพื่อไม่ให้เสียการสื่อความหมายของเนื้อเรื่อง[34]

ชื่อเกมในภาษาญี่ปุ่นแปลตามตัวอักษรได้ว่า It's a Wonderful World แต่ไม่ได้ใช้คำแปลนี้เป็นชื่อเกมสำหรับวางจำหน่ายในต่างประเทศเนื่องจากปัญหาด้านลิขสิทธิ์[34][35] ดังนั้นจึงตั้งชื่อเกมว่า The World Ends With You สำหรับวางจำหน่ายในอเมริกาเหนือและยุโรป สแควร์เอนิกซ์ ได้ประกาศการสร้างเกมนี้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2549[36] และสองสัปดาห์ต่อมาได้เปิดตัวในงาน 2006 Tokyo Game Show[31] ต่อมาเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 สแควร์เอนิกซ์ ประกาศว่าเกมนี้จะวางจำหน่ายในยุโรปและออสเตรเลียในเดือนเมษายน พ.ศ. 2551[37] และวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ได้ประกาศว่าจะวางจำหน่ายในอเมริกาเหนือในฤดูใบไม้ผลิ พ.ศ. 2551[38]

ในการวางจำหน่ายในญี่ปุ่นนั้น บริษัทนินเทนโดได้สร้าง Nintendo DS Lite สีเงินวาว "Wonderful World" edition ขึ้นมาเป็นพิเศษและวางจำหน่ายพร้อมกับเกม[39] ขณะที่ชิโระ อะมะโนะ ได้นำเนื้อเรื่องของเกมในช่วงแรกไปเขียนเป็น two-chapter one-shot manga ตีพิมพ์ลงใน Monthly Shōnen Gangan สองฉบับ และทางเว็บไซต์ของ Square Enix Members เพื่อเผยแพร่ในอเมริกาเหนือ[40]

เพลงประกอบ

ผู้แต่งและควบคุมเพลงประกอบของ The World Ends with You คือทะเคะฮะรุ อิชิโมะโตะ โดยที่ดนตรีภายในเกมจะผสมผสานจากหลายแนว ทั้งร็อค ฮิปฮอป อิเล็กทรอนิกา เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศที่หลากหลายของชิบุยะ[25] สำหรับเพลงประกอบที่เปิดระหว่างแสดงรายชื่อทีมงานเมื่อเล่นเกมจบ มีชื่อว่า Lullaby For You แต่งและขับร้องโดย Jyongri ศิลปินเพลงป๊อปญี่ปุ่น ส่วนนักร้องคนอื่นๆที่ร่วมขับร้องเพลงประกอบของเกม ประกอบด้วย Sawa, มะกิโกะ โนะดะ, Leah, อะยุโกะ ทะนะกะ, ไม มัทสึดะ, Wakako, Hanaeryca, Cameron Strother, Andy Kinlay, Nulie Nurly, และ Londell "Taz" Hicks[41] ทางผู้พัฒนาได้ใช้ Kyuseishu Sound Streamer ของ CRI Middleware ซึ่งเป็น compression algorithm ที่ปกติแล้วจะใช้สำหรับ voice-overs นำมาใช้บีบอัดเพลงประกอบเพื่อให้ใส่เพลงลงในเกมได้มากขึ้น รวมทั้งได้ใช้ภาพเคลื่อนไหวแบบ Flash แทน full motion video cutscenes เพื่อประหยัดเนื้อที่ของเกม ในที่สุดหลังจากแต่งเพลงประกอบและใส่ลงในเกมแล้ว พบว่าเพลงประกอบใช้เนื้อที่จัดเก็บไปประมาณ 1 ใน 4 ของเนื้อที่เกม[25]

อัลบั้มรวมเพลงประกอบอย่างเป็นทางการ ใช้ชื่อว่า The World Ends with You Original Soundtrack (ญี่ปุ่น: すばらしきこのせかい ORIGINAL SOUNDTRACK โรมาจิSubarashiki Kono Sekai Original Soundtrack ทับศัพท์meaning "It's a Wonderful World Original Soundtrack") วางจำหน่ายในญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2550[41] และมีจำหน่ายทางเว็บไซต์ iTunes Stores ที่เป็นภาษาอังกฤษ[42] อย่างไรก็ตามอัลบั้มที่วางจำหน่ายนี้ไม่มีเพลง 4 เพลงที่มีอยู่เฉพาะในอัลบั้มพิเศษสำหรับจำหน่ายในประเทศอื่นๆ แต่ละประเทศโดยเฉพาะ

The World Ends with You Original Soundtrack
ลำดับชื่อเพลงยาว
1. "It's So Wonderful"   1:39
2. "Twister" (ขับร้องโดย Sawa) 1:17
3. "Underground" (ขับร้องโดย Nulie Nurly) 0:49
4. "Long Dream" (ขับร้องโดย มะกิโกะ โนะดะ) 3:12
5. "Calling" (ขับร้องโดย Leah) 3:25
6. "Despair"   0:27
7. "Hybrid" (ขับร้องโดย Sawa) 3:04
8. "Fighting For Freedom"   2:06
9. "オーパーツ" ("Ooparts"; ขับร้องโดย อะยุโกะ ทะนะกะ และไม มัทสึดะ) 3:34
10. "Forebode"   0:28
11. "Give Me All Your Love" (ขับร้องโดย Wakako) 4:21
12. "サムデイ" ("Someday"; ขับร้องโดย Sawa) 3:40
13. "Satisfy" (ขับร้องโดย อะยุโกะ ทะนะกะ) 4:01
14. "Someday" (ขับร้องโดย Hanaeryca) 3:39
15. "ツイスター" ("Twister"; ขับร้องโดย ไม มัทสึดะ) 3:38
16. "Let's Get Together"   0:17
17. "Slash and Slash" (renamed "Slam Brothers" in the international game release) 1:03
18. "Amnesia"   0:49
19. "Rush Hour"   0:34
20. "imprinting"   1:07
21. "オワリハジマリ" ("Owari-Hajimari," Japanese for "Ending-Beginning"; ขับร้องโดย Cameron Strother) 2:17
22. "psychedelic"   2:24
23. "Game Over" (ขับร้องโดย Andy Kinlay) 2:50
24. "Dancer In The Street"   0:34
25. "ハイブリッド" ("Hybrid"; ขับร้องโดย Nulie Nurly) 3:05
26. "Detonation" (ขับร้องโดย Londell "Taz" Hicks) 2:33
27. "Black Market"   0:33
28. "Junk Garage"   1:27
29. "It Is Fashionable"   0:34
30. "Noisy Noise"   2:14
31. "Economical Shoppers"   0:28
32. "Shibuya"   2:08
33. "Make or Break" (ขับร้องโดย Hanaeryca) 4:08
34. "Twister-Remix" (ขับร้องโดย ไม มัทสึดะ) 4:32
35. "Emptiness and" (unnamed bonus track; the title is taken from the game) 3:03
36. "Twister-Gang-Mix" (ขับร้องโดย MJR; bonus track on the iTunes Store release) 3:31

วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2551 สแควร์เอนิกซ์ ได้ออก EP ดิจิทัลทั้งหมด 6 เพลงในชื่อว่า Subarashiki Konosekai + The World Ends with You (ญี่ปุ่น: すばらしきこのせかい + The World Ends with You โรมาจิSubarashiki Kono Sekai + The World Ends with You ทับศัพท์meaning "It's a Wonderful World + The World Ends with You") จำหน่ายทางเว็บไซต์ iTunes Store ภาษาญี่ปุ่น EP นี้ประกอบด้วย 4 เพลงที่มีเฉพาะในเกมฉบับจำหน่ายในต่างประเทศ รวมทั้งเพลง "Owari-Hajimari" ฉบับภาษาอังกฤษ และเพลง "Twister" ฉบับเรียบเรียงใหม่ ต่อมาในวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ได้ออกอัลบั้มเต็ม 19 เพลงในชื่อเดียวกันเป็นแผ่นซีดีและจำหน่ายทางเว็บไซต์ iTunes Store เช่นกัน[43]

Subarashiki Konosekai + The World Ends with You – EP
ลำดับชื่อเพลงยาว
1. "Déjà Vu" (ขับร้องโดย Joanna Koike) 4:07
2. "Three Minutes Clapping" (ขับร้องโดย J.D. Camaro) 3:10
3. "The One Star" (ขับร้องโดย Cameron Strother) 3:26
4. "Owari-Hajimari" (ขับร้องโดย Cameron Strother) 2:23
5. "Transformation" (ขับร้องโดย Andy from "Sixpin") 3:21
6. "Twister -The Twisters-" (ขับร้องโดย MJR & Sawa) 4:10


Subarashiki Konosekai + The World Ends with You (album version)
ลำดับชื่อเพลงยาว
1. "Twister -Original ver-" (ขับร้องโดย Sawa) 2:14
2. "Calling -1960s-" (ขับร้องโดย Leah) 4:04
3. "Give Me All You Love -All my love-" (ขับร้องโดย Wakako) 4:19
4. "Long Dream -1980s-" (ขับร้องโดย มะกิโกะ โนะดะ) 3:37
5. "サムデイ -Unplugged-" ("Someday"; ขับร้องโดย Sawa) 4:37
6. "Make or Break -Black box-" (ขับร้องโดย Hanaeryca) 4:10
7. "Game Over -Busy Dizzy and Lazy-" (ขับร้องโดย Andy Kinlay) 2:53
8. "オーパーツ -Give me a chance-" ("Ooparts"; ขับร้องโดย อะยุโกะ ทะนะกะ และไม มัทสึดะ) 3:59
9. "ハイブリッド -New born-" ("Hybrid"; ขับร้องโดย Nulie Nurly) 4:09
10. "Twister -That Power is Yet Unknown-" (ขับร้องโดย Sawa) 3:56
11. "Déjà vu" (ขับร้องโดย Joanna Koike) 4:10
12. "Transformation" (ขับร้องโดย Andy from "Sixpin") 3:26
13. "Three Minutes Clapping" (ขับร้องโดย J.D. Camaro) 3:15
14. "Twister-Gang-Mix" (ขับร้องโดย MJR) 3:35
15. "The One Star" (ขับร้องโดย Cameron Strother) 3:35
16. "Owari-Hajimari" (ขับร้องโดย Cameron Strother) 3:30
17. "Three Minutes Clapping -Live-" (ขับร้องโดย J.D. Camaro) 3:22
18. "Transformation -Transformed-" (ขับร้องโดย Andy from "Sixpin") 3:45
19. "Déjà vu -Discoteque-" (ขับร้องโดย Joanna Koike) 4:49

ใกล้เคียง

The Mask Singer หน้ากากนักร้อง The Golden Song เวทีเพลงเพราะ The Golden Song เวทีเพลงเพราะ (ฤดูกาลที่ 6) The Mask Singer หน้ากากนักร้อง ซีซันที่ 1 The Mask Singer หน้ากากนักร้อง ซีซันที่ 2 The Mask Singer หน้ากากนักร้อง ซีซันที่ 3 The Mask Singer หน้ากากนักร้อง ซีซันที่ 4 The Mask Line Thai The Mask วรรณคดีไทย The Producer นักปั้นมือทอง

แหล่งที่มา

WikiPedia: The World Ends with You http://palgn.com.au/article.php?id=11184 http://www.next-gen.biz/index.php?option=com_conte... http://www.next-gen.biz/index.php?option=com_conte... http://www.1up.com/do/blogEntry?bId=8827801&public... http://www.1up.com/do/reviewPage?cId=3167457&p=39&... http://wewy.deviantart.com/ http://wewy.deviantart.com/art/Background-Angle-Te... http://wewy.deviantart.com/art/Character-Design-82... http://wewy.deviantart.com/art/NPC-Design-82283565 http://theworldendswithyou.eu.com/